วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

: ฟรี!! นิด้าจัดสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ก้าวสู่โอกาส SMEs ไทย

นิด้าจัดสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect พลังแห่งศรัทธา สู่โอกาส SMEs ไทย 

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเทคโนโลยีการบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า ) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ฮาลาลพลังแห่งศรัทธา สู่โอกาส SMEs ไทย. ในวันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 8.30 - 15.00 น. งานนี้ ได้ความรู้ ได้แนวทาง ได้โอกาสในการต่อยอดธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจ โดยประเด็นการสัมมนาคือ...

- ทำไม SMEs ไทย ต้องก้าวไปสู่ฮาลาลโลก?
- อะไรคือ ข้อกำหนดฮาลาล?
- แนวทางประยุกต์ใช้ข้อกำหนดฮาลาล SMEs ต้องทำอย่างไร?
- ไขปัญหาคาใจเรื่องแหล่งทุนกับ ibank
- เสวนาเปิดมุมมอง SMEs ไทย สไตส์ฮาลาล

สำหรับผู้สนใจทุกสายงานอาชีพ และผู้ประกอบการ SMEs ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ขอเรียนเชิญทุกๆท่านเลยนะค่ะ #งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นค่ะ #ได้พบปะกับผู้ประกอบการธุรกิจสายงานอื่นๆ #ได้มุมมอง #ได้ความรู้ #มีเจ้าหน้าที่ทางธนาคารอิสลามมาให้คำแนะนำด้านเงินลงทุนด้วยนะค่ะ  #หรือแม้แต่ขั้นตอนการขอมาตรฐานฮาลาลจะมีเจ้าหน้าคอยให้คำแนะนำค่ะ! งานนี้พร้อม  #ช๊อป  ชม  ชิม  สินค้าฮาลาลที่มีคุณภาพ  #ที่สำคัญมี Buffet ฟรี  ตลอดงาน!!

สำรองที่นั่ง หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คุณธนาภรณ์ 082-444-2771
คุณจิระพงษ์ 096-245-1956

สามารถลงทะเบียน Online กดลิ้งค์ได้เลยนะค่ะ!

https://docs.google.com/forms/d/1VVpfOgUlY9ZoJDzv529ce7zbw3dHutFv5I14Ai06KsM/viewform


ฮาลาล  พลังแห่งศรัทธา  สู่โอกาส SMEs ไทย.




SAL Integrated Consulting: ฟรี!! นิด้าจัดสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ก้าวสู่โอกาส SMEs ไทย

ฟรี!! นิด้าจัดสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ก้าวสู่โอกาส SMEs ไทย

 

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเทคโนโลยีการบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า ) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ฮาลาลพลังแห่งศรัทธา สู่โอกาส SMEs ไทย. ในวันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 8.30 - 15.00 น. งานนี้ ได้ความรู้ ได้แนวทาง ได้โอกาสในการต่อยอดธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจ โดยประเด็นการสัมมนาคือ...

- ทำไม SMEs ไทย ต้องก้าวไปสู่ฮาลาลโลก?
- อะไรคือ ข้อกำหนดฮาลาล?
- แนวทางประยุกต์ใช้ข้อกำหนดฮาลาล SMEs ต้องทำอย่างไร?
- ไขปัญหาคาใจเรื่องแหล่งทุนกับ ibank
- เสวนาเปิดมุมมอง SMEs ไทย สไตส์ฮาลาล

สำหรับผู้สนใจทุกสายงานอาชีพ และผู้ประกอบการ SMEs ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ขอเรียนเชิญทุกๆท่านเลยนะค่ะ #งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นค่ะ #ได้พบปะกับผู้ประกอบการธุรกิจสายงานอื่นๆ #ได้มุมมอง #ได้ความรู้ #มีเจ้าหน้าที่ทางธนาคารอิสลามมาให้คำแนะนำด้านเงินลงทุนด้วยนะค่ะ  #หรือแม้แต่ขั้นตอนการขอมาตรฐานฮาลาลจะมีเจ้าหน้าคอยให้คำแนะนำค่ะ! งานนี้พร้อม  #ช๊อป  ชม  ชิม  สินค้าฮาลาลที่มีคุณภาพ  #ที่สำคัญมี Buffet ฟรี  ตลอดงาน!!

สำรองที่นั่ง หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คุณธนาภรณ์ 082-444-2771
คุณจิระพงษ์ 096-245-1956

สามารถลงทะเบียน Online กดลิ้งค์ได้เลยนะค่ะ!

https://docs.google.com/forms/d/1VVpfOgUlY9ZoJDzv529ce7zbw3dHutFv5I14Ai06KsM/viewform


ฮาลาล  พลังแห่งศรัทธา  สู่โอกาส SMEs ไทย.


วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

นิด้าจัดสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect พลังแห่งศรัทธา สู่โอกาส SMEs ไทย

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเทคโนโลยีการบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ( นิด้า ) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ Halal Connect ฮาลาลพลังแห่งศรัทธา สู่โอกาส SMEs ไทย. ในวันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 8.30 - 15.00 น. งานนี้ ได้ความรู้ ได้แนวทาง ได้โอกาสในการต่อยอดธุรกิจ SMEs ที่น่าสนใจ โดยประเด็นการสัมมนาคือ...

- ทำไม SMEs ไทย ต้องก้าวไปสู่ฮาลาลโลก?
- อะไรคือ ข้อกำหนดฮาลาล?
- แนวทางประยุกต์ใช้ข้อกำหนดฮาลาล SMEs ต้องทำอย่างไร?
- ไขปัญหาคาใจเรื่องแหล่งทุนกับ ibank
- เสวนาเปิดมุมมอง SMEs ไทย สไตส์ฮาลาล

สำหรับผู้สนใจทุกสายงานอาชีพ และผู้ประกอบการ SMEs ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ขอเรียนเชิญทุกๆท่านเลยนะค่ะ #งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นค่ะ #ได้พบปะกับผู้ประกอบการธุรกิจสายงานอื่นๆ #ได้มุมมอง #ได้ความรู้ #มีเจ้าหน้าที่ทางธนาคารอิสลามมาให้คำแนะนำด้านเงินลงทุนด้วยนะค่ะ  #หรือแม้แต่ขั้นตอนการขอมาตรฐานฮาลาลจะมีเจ้าหน้าคอยให้คำแนะนำค่ะ! งานนี้พร้อม  #ช๊อป  ชม  ชิม  สินค้าฮาลาลที่มีคุณภาพ  #ที่สำคัญมี Buffet ฟรี  ตลอดงาน!!

สำรองที่นั่ง หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คุณธนาภรณ์ 082-444-2771
คุณจิระพงษ์ 096-245-1956

สามารถลงทะเบียน Online กดลิ้งค์ได้เลยนะค่ะ!

https://docs.google.com/forms/d/1VVpfOgUlY9ZoJDzv529ce7zbw3dHutFv5I14Ai06KsM/viewform


ฮาลาล  พลังแห่งศรัทธา  สู่โอกาส SMEs ไทย.


วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หมาขี้เรื้อน ... เปลี่ยนหัวใจคนใจดำ

อ่านจบแล้วน้ำตาคุณจะไหล "หมาขี้เรื้อน ... เปลี่ยนหัวใจคนใจดำ" เรื่องเล่า… มีอยู่ว่า พี่ชิต แกเป็นคำใจดำครับ ชอบยิงนกตกปลาไปเรื่อย แต่ที่หนัก ก็คงเป็นเนื้อหมา แกกินแหลกครับ แม่แกบอก มันบาปนะลูก พี่แก ก็ไม่เคยสนใจ คำเตือนของแม่เลย เมื่อราว 15 ปีก่อน มีเหตุการณ์ ที่ทำให้แกเปลี่ยนไป… ครั้งนั้น มีแม่หมาขี้เรื้อน ตัวหนึ่งครับ มันมักวิ่งไปหาของกิน แถวๆ บ้านแกบ่อย เพราะบ้านแกติดตลาด ผมเคยถามพี่ชิต ที่กินหมา อยู่บ่อยๆ ว่า ทำไมไม่กินหมาขี้เรื้อน แกบอก “กินไม่ลงว่ะ"มีอยู่วันหนึ่ง เนื้อแห้งที่แกตากไว้ หายไป พอมองไป ก็เห็นแม่หมาขี้เรื้อนนั้น วิ่งคาบเนื้อตากแห้ง ของแกอยู่ ความแค้นใจ และการฆ่า ที่อยู่ในสันดาน พี่ชิตคว้าไม้ ที่ใช้ตีหมาได้ ก็วิ่งตามไป อย่างรวดเร็ว พอตามทัน แกก็ทุบไปทีเดียว หมาขี้เรื้อนนั่น ล้มลงชักทันที (แกบอกว่า หากตีตรงจุด แค่ไม้เล็กๆ ธรรมดา ก็ตายได้ นี่คือคน ตีหมาจนชำนาญ) พี่ชิตทิ้งซากหมา กองไว้อยู่ตรงนั้น โดยไม่ต้องเหลียวหน้าไปดูอีก เพราะตีมาเป็นร้อย ก็ไม่มีทางฟื้น และวันนี้ ด้วยความโมโห พี่ชิตจะกินหมาขี้เรื้อนตัวนี้ ที่ดันมากินเนื้อตากแห้ง และมาหยาม ถึงถิ่นของแกพี่ชิตเดินกลับไปที่บ้าน เพื่อเตรียมอุปกรณ์ ในการแล่เนื้อ พร้อมกับสั่งให้ผม เฝ้าซากหมาขี้เรื้อนตัวนี้เอาไว้ แต่ผมก็มัวแต่เก็บตะขบ จนลืมดูพอพี่ชิตมาถึง ก็โวยวายกับผมว่า ซากหมาหายไปไหน พร้อมกับวิ่งตาม รอยเลือด หมาขี้เรื้อนตัวนี้ พร้อมกับบ่นว่า... “ทำไมมันไม่ตายวะ” สักพักหนึ่ง แกก็ได้ยินเสียงหมาเห่า แกก็ตามเสียงไปทันที พอไปถึง ภาพที่เห็นคือ หมาขี้เรื้อน กำลังจะตาย มันมีลูก ที่ต้องเลี้ยง 5 ตัวครับ วัยกำลังกินนมอยู่ บางตัวก็วิ่งไปคาบเนื้อ ที่แม่หมาขี้เรื้อน คาบไปฝาก (เห็นกับตา) แม่หมาขี้เรื้อนตัวนี้ มันตายแล้วฟื้น คงไม่ใช่ แต่ที่มัน ยังไม่ยอมตาย ก็เพราะจิตใจอันเข้มแข็ง ของมัน ที่ปลุกเร้าเยื่อใย ที่คงเหลือ อย่างเหนียวแน่นว่า… ต้องกลับไปให้ได้ เพื่อให้ลูกมันกินนมครับการตีของพี่ชิตนั้น กระทบกระเทือน ถึงหัวสมองแตก เลือดสาดเป็นลิ่มๆ แต่มันก็ยัง ลากตัวมันเอง กระเสือกกระสน ล้มลุกคลุกคลาน เพื่อกลับมาหาลูกของมันจนได้ และสิ่งที่เห็นคือ... การกระทำที่ยิ่งใหญ่ ของความเป็นแม่ ที่รักลูกมากเป็นที่สุด โดยไม่ห่วงตัวจะตาย นี่จิตใจอันยิ่งใหญ่ของแม่ ที่ไม่ว่าสัตว์ หรือคน ก็มีจิตใจเช่นนี้ แม้มันจะตาย ก็ขอให้ลูกพวกมัน ได้อิ่มซักมื้อแม่หมาพยายาม อย่างดีที่สุดแล้วครับ ผมไม่อยากจะเชื่อ... นั่นคือ น้ำตา ของแม่หมาขี้เรื้อนตัวนั้น มันมองผมกับพี่ชิต เหมือนขอร้อง เป็นครั้งสุดท้าย ที่มันต้องการให้นมลูก ก่อนตายสายตาของมันเศร้ามาก มันมองผมกับพี่ชิต อย่างวิงวอนทางสายตา ที่ขอร้องของมัน เพื่อขอให้มัน ได้ให้นมลูกของมัน เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะตาย พี่ชิต ไม้หล่นลงกับพื้น เดินเข้าไปดู แม่หมาขี้เรื้อนตัวนั้น ในยามนั้น... สิ่งที่แกเห็น ไม่ใช่หมาขี้เรื้อน แต่แกเห็นจิตใจ แห่งความเป็นแม่ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทนเจ็บปางตาย เพื่อกลับไปหาลูกให้ได้ พี่ชิตไม่พูดอะไร... ทุกอย่างจุกอยู่ที่ลำคอ... สายตาพี่ชิต ที่แข็งกร้าว กลับอ่อนโยนลง พร้อมกับมีลูกหมาตัวหนึ่ง วิ่งไปหาแก กระดิกหางให้ แกอุ้มลูกหมาขึ้น พร้อมมองไปที่ สายตา ของแม่หมาขี้เรื้อนนั้น อย่างสำนึกผิด และพูดคำว่า "ขอโทษ” พูดได้แค่นั้น แม่หมาก็สิ้นใจตาย อย่างตาหลับ ผมกับพี่ชิต ช่วยกันฝังแม่หมาตัวนี้... พร้อมๆ กับจิตสำนึก ที่เกิดใหม่ ของพี่ชิต ที่เปลี่ยนไป ราวกับคนละคน แกรับเลี้ยง ลูกหมานั้นไว้ ทั้ง 5 ตัว และตั้งแต่นั้น แกกลายเป็นคนใจดี ไม่ไล่ยิงนก ยิงหมา ยิงแมวอีก แกบอกว่า... "มันอาจจะมี ลูกรออยู่ก็ได้” วันเกิดของแม่ ปีที่แล้ว แกเอามะลิ ร้อยเป็นพวง ไปให้แม่ ทั้งๆ ที่ ไม่เคยทำมาก่อน พี่ชิตกราบแม่ พร้อมพูดกับแม่ว่า "แม่ครับ... ตอนผมอายุ 16 แม่สอนผม ยังไงนะ สอนอีกหน ได้ไหมครับ" แม่แกน้ำตาคลอ พูดไม่ออก.... _____________________ เค้ามีชีวิต เหมือนที่คุณมี เค้ามีหัวใจ เหมือนที่คุณมี เค้ามีความรัก เหมือนที่คุณมี ใครซักคนพูดไว้ว่า... หากคุณลองเลี้ยงสุนัขซักตัวด้วยรัก แล้วคุณจะรู้ว่า "รักแท้" เป็นเช่นไร
โปรดแชร์ เพื่อหวังว่า เรื่องราวนี้ จะเปลี่ยนหัวใจ ของคนได้!!

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑มาตรา๕/๒

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๒๕๕๑ ) มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้ “ผู้ว่าจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงว่าบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดยจะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น “ผู้รับเหมาชั้นต้น” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง “ผู้รับเหมาช่วง” หมายความว่า ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้นโดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม “สัญญาจ้าง” หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ หลักเกณฑ์โดยย่อ สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ ( สัญญาจ้างเหมา ) นั้นมีลักษณะคล้ายกันมาก หากไม่พิเคราะห์ถึงสาระสำคัญของสัญญาแล้วอาจวินิจฉัยผิดพลาดได้ หลักเกณฑ์โดยย่อของสัญญาจ้างทำของ ๑. สัญญาที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างตกลงกันเป็นหนังสือด้วยวาจาหรือโดยปริยาย ๒. ผู้ว่าจ้างตกลงให้ผู้รับจ้างทำงานจนสำเร็จแล้วจ่ายสินจ้าง ๓. ผู้รับจ้างตกลงทำงานให้ผู้ว่าจ้างจนสำเร็จ แล้วรับสินจ้าง หลักเกณฑ์โดยย่อของสัญญาจ้างแรงงาน ๑. สัญญาที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันเป็นหนังสือ ด้วยวาจาหรือโดยปริยาย ๒. นายจ้างตกลงให้ลูกจ้างทำงาน และจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ๓. ลูกจ้างตกลงทำงานให้นายจ้างและรับค่าจ้าง ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและจ้างทำของ ๑. สัญญาจ้างทำของมุ่งผลสำเร็จของงาน ส่วนสัญญาจ้างแรงงานไม่มุ่งผลสำเร็จของงาน ๒. สัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาเหนือผู้รับจ้าง แต่สัญญาจ้างแรงงานนั้น นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้าง ๓. สัญญาจ้างทำของนั้น ผู้รับจ้างเป็นทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ส่วนสัญญาจ้างแรงงานนั้น ลูกจ้างมีได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น ฎีกาสำคัญ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างทำของ ฎีกาที่ ๒๗๐๗ / ๒๕๓๑ โจทก์ทำงานกับจำเลยในฐานะบรรณาธิการข่าว เรียบเรียงข่าวผู้ประกาศข่าว โดยมีหน้าที่ผลิตข่าวให้มีคุณภาพ ต้องมาเรียบเรียงข่าวให้ทันกับเวลาของรายการ โจทก์ได้รับค่าจ้างเฉพาะวันที่ทำงาน ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการใดๆ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาการทำงานของโจทก์ ดังนี้ แม้โจทก์ตกลงผลิตข่าวให้แก่จำเลยโดยได้รับสินจ้างเพื่อการนั้นก็ตาม แต่โจทก์ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลย เป็นลักษณะของสัญญาจ้างทำของอันเป็นสัญญาประเภทหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๗ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงาน แต่เป็นสัญญาจ้างทำของ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฎีกาที่ ๖๘๔๗ / ๒๕๔๓ โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลย แม้จะขาดงานบางวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิรับค่าจ้างจนถึงวันที่จำเลยบอกเลิกจ้าง จำเลยจำต้องจ่ายค่าจ้างที่ค้างจ่ายให้แก่โจทก์ อาจารย์ สมชาย หลักคงคา

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา๕ /๑

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๒๕๕๑ ) มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หลักเกณฑ์โดยย่อ ลูกจ้างนั้นมีองค์ประกอบ ๒ รายการ คือ ๑ ) ผู้ตกลงทำงานให้นายจ้าง ๒ ) การทำงานนั้นเพื่อรับค่าจ้าง หลักเกณฑ์การเป็นลูกจ้างนั้น ทั้งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ใช้หลักเณฑ์เดียวกัน ดังนั้น คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงนำมาปรับใช้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.๒๕๔๑ ได้ ฎีกาสำคัญ คำพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นลูกจ้าง ฎีกาที่ ๒๙๗๐ / ๒๕๔๘ ลูกจ้าง คือ ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างโดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง หมายความว่า ลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างสั่งและต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างสามารถลงโทษได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่ามิใช่ลูกจ้าง ฎีกาที่ ๒๔๑๗ / ๒๕๔๔ โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของจำเลยที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยที่ ๑ รองจากนาย ถ. ซึ่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับการทำงานของจำเลยที่ ๑ อีกทั้งไม่มีผู้ใดในบริษัทจำเลยที่ ๑ สามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ แสดงว่า โจทก์ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยที่ ๑ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ อาจารย์ สมชาย หลักคงคา

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา๕

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๒๕๕๑ ) มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้ “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง (๑) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง (๒) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ ทำการแทนด้วย หลักเกณฑ์โดยย่อ ๑. นายจ้าง คือ ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างให้ การเป็นนายจ้างนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๒ ประการ คือ ๑.๑ ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงาน : การตกลงอาจทำเป็นหนังสือ พูดด้วยวาจา หรือโดยปริยายก็ได้ โดยมีการเสนอสนองถูกต้องตรงกัน ฝ่ายเสนออาจเป็นลูกจ้างยื่นใบสมัครงานแล้วนายจ้างรับเข้าทำงานหรือนายจ้างประกาศรับสมัครงานแล้วลูกจ้างมาสมัคร นายจ้างตกลงรับเป็นลูกจ้างก็ได้ นายจ้างนั้นอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ๑.๒ ผู้ตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ฎีกาสำคัญ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นนายจ้าง ฎีกาที่ ๘๕๒ / ๒๕๔๓ โจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาจำเลยได้โอนกิจการให้บริษัท พ เป็นผู้เช่าดำเนินการต่อ บริษัทผู้เช่าได้รับโจทก์ทั้งหมดไปทำงานให้แก่บริษัทผู้เช่า โดยโจทก์ทั้งหมดหาได้ใช้สิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมโอนไปทำงานกับบริษัทผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕๗๗ ให้สิทธิไว้ไม่ อีกทั้งเมื่อบริษัทผู้เช่าค้างชำระค่าจ้าง โจทก์ทั้งหมดได้ยอมรับการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัทผู้เช่าและยินยอมโอนไปทำงานให้แก่บริษัทผู้เช่าแล้ว บริษัทผู้เช่าจึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ ๒ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่ามิใช่นายจ้าง ฎีกาที่ ๓๙๙๙ / ๒๕๒๘ สัญญาตัวแทนประกันชีวิตระหว่างบริษัทกับตัวแทนมีเจตนาผูกพันต่อกันในฐานะตัวการกับตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวแทนมีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากการขายประกันชีวิตเป็นรายๆ ไป ไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ เช่น โบนัส ค่าครองชีพ หรือเบี้ยเลี้ยง เช่นลูกจ้างทั่วไป แม้ตัวแทนต้องลงเวลาทำงาน เมื่อขาดงานต้องลา หรือขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้กิจการของบริษัทมีประสิทธิภาพและรัดกุม มิใช่เป็นเรื่องที่ตัวแทนต้องทำงานตามคำสั่งหรือการบังคับบัญชาของบริษัท ทั้งไม่ปรากฎว่าตัวแทนฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว บริษัทมีอำนาจลงโทษตัวแทนเป็นการอื่น นอกจากการเลิกสัญญา ถือไม่ได้ว่าตัวแทนเป็นลูกจ้างของบริษัท ๒. ผู้ที่ถือว่าเป็นนายจ้าง ๒.๑ ) ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลธรรมดา : นายจ้างผู้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาอาจติดกิจธุระ ไม่อาจควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้างได้ จึงมอบหมายให้คนอื่นทำแทน เช่น นายโชติช่วงซึ่งเป็นนายจ้างต้องเดินทางไปติดต่องานที่ต่างประเทศ จึงมอบหมายให้นายชิดชอบดูแลกิจการ ถือว่านายชิดชอบเป็นนายจ้าง ๒.๒ ) ผู้มีอำนาจกระทำแทนนิติบุคคล : หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำแทนโดยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐ เช่น กรรมการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้ว่าการ กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นต้น ฎีกาสำคัญ ฎีกาที่ ๓๑๒๙ / ๒๕๔๙ จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ ๒ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน จำเลยที่ ๑ จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ จำเลยที่ ๒ ย่อมจะถูกโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องให้รับผิดได้ แต่ความรับผิดของจำเลยที่ ๒ ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๗ ประกอบมาตรา ๘๒๐ กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ ๒ กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ ๒ ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่า ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายและเงินต่างๆ ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ ๒ รับผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๗ ประกอบมาตรา ๘๒๐ ซึ่งไม่ขัดแย้งกัน คำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบแล้ว ๒.๓ ) ผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทน ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล อาจติดกิจธุระจึงมอบหมายให้คนอื่นดูแลกิจการแทน เช่น นายดำ กรรมการผู้จัดการของบริษัท ก จำกัด ต้องเดินทางไปติดต่อธุรกิจที่ต่างประเทศ จึงมอบหมายให้นายแดง รองกรรมการผู้จัดการรักษาการแทน ถือว่านายแดงเป็นนายจ้าง  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๐ ระบุไว้ว่า นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคน ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะได้กำหนดไว้ ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๗ ระบุไว้ว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคล และระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอก โดยอนุโลม  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๗ ระบุไว้ว่า นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตยก็ได้เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจ ด้วย ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดทำการฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิก สัญญาเสียก็ได้  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๒๐ ระบุไว้ว่า ตัวการย่อมมีความ ผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไป ภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน อาจารย์ สมชาย หลักคงคา